นายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก ประจำเดือนส.ค.65 พบว่า ยังทรงตัวเท่ากับเดือน ก.ค. แม้ว่าจะมีสัญญาณบวกจากผู้บริโภคออกมาใช้ชีวิตตามปกติมากขึ้น และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น แต่ผู้ประกอบการยังกังวลเรื่องภาวะเงินเฟ้อ แนวโน้มดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น และค่าแรงขั้นต่ำที่ประกาศปรับเพิ่มขึ้น 5-8% ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้าดีขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากการฟื้นตัวของธุรกิจที่ยังคงต้องใช้เวลา และผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อต้นทุนและราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้การจับจ่ายไม่คึกคักเท่าที่ควรคำพูดจาก ทดลองเล่นสล็อต
“แม้ผู้คนจะกลับมาใช้ชีวิตเหมือนปกติ แต่พบว่ายอดใช้จ่ายต่อใบเสร็จลดลง และความถี่ในการจับจ่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย รวมทั้งยอดขายสาขาเดิมลดลง เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย และกำลังซื้อที่อ่อนแอทำให้การจับจ่ายโดยรวมไม่เติบโต เกิดจากความกังวลต่อภาวะหนี้ครัวเรือน และรายได้ที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ผู้บริโภคจึงซื้อสินค้าเฉพาะที่จำเป็น ลดการบริโภคฟุ่มเฟือย ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยดีนัก ภาครัฐจึงจำเป็นต้องมีมาตรการกระตุ้นการจับจ่ายอย่างเร่งด่วนเพื่อการส่งเสริมการบริโภคในประเทศ อาทิ โครงการช้อปดีมีคืน โครงการคนละครึ่ง รวมทั้ง ไทยเที่ยวไทย”
ขณะที่ การปรับขึ้นราคาสินค้า และความกังวลต่อการฟื้นตัวธุรกิจของผู้ประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ผู้ประกอบการ 26% เชื่อว่าจะไม่ปรับราคาสินค้าแล้ว อีก 40% เชื่อว่าจะปรับราคาเพิ่มขึ้นไม่เกิน 5% ขณะเดียวกันผู้ประกอบการ 17% เชื่อว่าจะปรับราคาเพิ่มขึ้น 5-10% และผู้ประกอบการ 5% เชื่อว่าจะปรับราคาเพิ่มขึ้น 11-15% ส่วนผู้ประกอบการอีก 12% เชื่อว่าจะปรับราคาเพิ่มขึ้นมากกว่า 15%
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่สร้างความกังวลต่อการฟื้นตัวธุรกิจมากที่สุด คือ เงินเฟ้อที่สูงผลักดันราคาสินค้าสูงขึ้นซึ่งมีสัดส่วนมากถึง70% ตามด้วย 9% แนวโน้มดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และการขาดแคลนแรงงาน นักท่องเที่ยวต่างชาติน้อยกว่าที่คาด รวมทั้ง การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำมีส่วนส่วนที่ 7% เท่ากันทั้งหมด
“ความกังวลหลักของผู้ประกอบการ คือ การปรับขึ้นของค่าจ้างแรงงาน และปัญหาการขาดแคลนแรงงานตลอดช่วงปีที่ผ่านมา เพราะทำให้ต้นทุนทางธุรกิจเพิ่มขึ้นราว 1-3% โดยภาคค้าปลีกค้าส่งและบริการมีการจ้างงานทั้งระบบกว่า 13 ล้านคน บวกกับการที่แรงงานในระบบหายไปจากการจ้างงานถึง 30% เมื่อเทียบกับสถานการณ์ก่อนโควิด ทำให้ผู้ประกอบการต้องจ่ายค่าจ้างแรงงานในอัตราที่สูงเพื่อจูงใจและทดแทนแรงงานในระบบ ส่งผลให้กำไรของผู้ประกอบการลดลงเฉลี่ย 4-5 %”.